รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเขียวอ่อน เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปทุมธานีและสมุทรปราการ มีระยะทาง 17 กม. เมื่อแรกเปิดให้บริการ และอีก 5.25 กม. สำหรับส่วนต่อขยาย เชื่อมต่อกับสายสีลม ที่สถานีสยาม
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ ได้ที่ สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มายังสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส เคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้
โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น
นอกจากนี้ยังมีเอกชนให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้เคียงไปยังสถานที่ๆ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้
โดยบริการดังกล่าวไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต-อิมแพ็ค เมืองทองธานีจะเก็บค่าโดยสาร 25 บาทต่อเที่ยว เนื่องจากเส้นทางหลักต้องผ่านทางด่วน
ในอนาคต สถานีชิดลม, สถานีพระโขนง, สถานีสำโรง, สถานีปู่เจ้าสมิงพราย และ สถานีแพรกษา มีโครงการสร้างทางเดินเชื่อมต่อไปยังการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต, ดับเบิ้ลยู ดิสทริกต์, ดับเบิ้ลยู คอนโดมิเนียม, เลอรัก คอนโดมิเนียม, ห้างอิมพีเริยล เวิลด์ สำโรง, ห้างบิ๊กซี จัมโบ้ สำโรง และ บิ๊กซี สมุทรปราการ ตามลำดับ ส่วน สถานีอุดมสุข และสถานีบางนา จะมีการก่อสร้างซูเปอร์สกายวอลค์ ความยาว 1 กิโลเมตร ใต้ทางวิ่งรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการศูนย์การค้า แบงค็อก มอลล์, ศูนย์ไบเทค, เดอะคอสท์ บางนา และกลุ่มคอนโด ไอดีโอ ในบริเวณใกล้เคียงได้
เส้นทางช่วงหมอชิต-แบริ่ง จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสมุทรปราการ (บางปิ้ง) และช่วงหมอชิต-คูคต จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยคูคต ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต
มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีต้นทาง (คูคต) สถานีเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ (หมอชิต) และสถานีปลายทาง (เคหะสมุทรปราการ)
สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน
ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในสายสุขุมวิทปัจจุบัน มีเพียงแค่ A-Car และ C-Car เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมี A-Car อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมี C-Car อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 85.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 24 บานต่อ 1 ขบวน (แบบ 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน) หรือ 32 บานต่อ 1 ขบวน (แบบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน) ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3
“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น
“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่สำโรง และเคหะสมุทรปราการด้วย
ที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีมติอนุมัติดำเนินการการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร วงเงินรวมทั้งสิ้น 26,569 ล้านบาท โดยแบ่งการประกวดราคาออกเป็น 4 สัญญาคือ
ซึ่งในส่วนขยายของหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ได้ทำการเปิดซองราคาของผู้รับเหมา 4 บริษัทที่เสนอราคาประมูลโครงการก่อสร้างเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557
“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น
“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่ห้าแยกลาดพร้าว และคูคตด้วย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รถไฟฟ้าบีทีเอส_สายสุขุมวิท